6 วิธีปฏิเสธผู้สมัครงานเจ็บปวดน้อยที่สุด
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้เป็นยุคของการแข่งขัน จำได้หรือไม่ว่าเราเริ่มแข่งขันกันตั้งแต่เมื่อไร?
- แข่งกันตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง คุณแม่ตั้งครรภ์แข่งขันแย่งชิงกันฝากท้องลูกในสถานพยาบาลที่ได้รับความน่าเชื่อถือ
- แข่งกันเมื่อเริ่มเข้าเรียนอนุบาล ประถม มัธยมจนถึงระดับมหาวิทยาลัย แข่งกันเพราะต้องการให้ลูกของตนได้มีโอกาสเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของสังคม
- ท้ายที่สุด คนเราแข่งกันเพื่อได้มีโอกาสรับเลือกให้ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำ
ในเมื่อมีคนเป็นจำนวนมากที่มีความต้องการเดียวกัน และจะเป็นไปได้อย่างไรที่ทุกคนจะสมหวังและประสบความสำเร็จในการแข่งขันนั้น คงมีอีกหลายคนที่ต้องถูกปฏิเสธ แล้วหากคุณเป็นผู้ที่ต้องรับหน้าที่ในการปฏิเสธพวกเขาเหล่านั้น ผู้มีความหวังอันเต็มเปี่ยมมาหาคุณล่ะ คุณจะทำอย่างไรที่จะปฏิเสธแบบไม่ปฏิเสธ หรือปฏิเสธแบบให้พวกเขาเจ็บปวดน้อยที่สุด และในทางตรงข้าม หากคุณปฏิเสธไม่เหมาะสมอาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชื่อเสียงของบริษัทของคุณได้
การวิจัยดำเนินการโดย Jobbio พบว่า 82% ของคน จะไม่ทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงไม่ดี ดังนั้น การรักษาชื่อเสียงของบริษัท จึงถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณ และนี่คือ วิธีการปฏิเสธผู้สมัครโดยไม่ทำร้ายความรู้สึกของใคร
1. ให้ผู้สมัครรับทราบโดยเร็ว
“เคารพเวลาของคนอื่น จะทำให้พวกเขามีความเคารพคุณมากขึ้น”
บริษัทส่วนใหญ่มักจะรอจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการจ้างงาน ซ้ำร้ายกว่านั้น บางบริษัทรอจนกว่าการจ้างใหม่ของพวกเขาจะเริ่มทำงานด้วยซ้ำ คุณไม่คิดบ้างหรือว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการทำร้ายจิตใจของผู้สมัครงานเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นการดูหมิ่นพวกเขาอีกด้วย คุณปล่อยให้พวกเขารอคอยคำตอบรับหรือตอบปฏิเสธจากคุณ โดยไม่รู้จุดหมายว่าคุณจะติดต่อกลับมาเมื่อไร บางครั้ง อาจทำให้ผู้สมัครงานคนนั้นเกิดความล่าช้าในการสมัครงานตำแหน่งอื่น ดังนั้น เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้ว ขอให้รีบแจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็วที่สุด
2. รับโทรศัพท์ (หลังจากการสัมภาษณ์เสร็จสิ้น)
ในเวลาที่คุณต้องการสรรหาบุคคลากรเข้าร่วมงาน คุณพยายามหาช่องทางในการติดต่อกับผู้สมัครทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นไลน์, โทรศัพท์ หรืออีเมล์ ดังนั้น หากการสัมภาษณ์ผ่านพ้นไปแล้ว คุณควรโทรหาพวกเขา เพื่อให้พวกเขารู้ว่า พวกเขาไม่ใช่คนที่เหมาะสมสำหรับงานของคุณ “จงอย่าปฏิเสธผู้สมัครด้วยการส่งอีเมล์เพียงอย่างเดียว เพราะมันดูเย็นชาและไม่มีตัวตน”หากคุณต้องการส่งอีเมล์ ขอให้ส่งหลังจากบทสนทนาในการปฏิเสธผู้สมัครผ่านพ้นไปแล้ว เพื่อเป็นการบันทึกบทสนทนา ขอบคุณผู้สมัครที่สละเวลาและมีความพยายามอย่างสูงในการแนะนำตัวตน บอกให้เขารู้ว่าคุณได้ตัดสินใจเลือกบุคคลอื่นแล้ว แต่ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เขาสนใจในบริษัทของคุณ
3. ทำให้สั้น
อธิบายในประโยคสั้นๆ หรือย่อหน้าเดียวว่า ทำไมคุณถึงปฏิเสธผู้สมัคร เช่น "แม้ว่าเราจะประทับใจในทักษะของคุณมาก แต่เราตัดสินใจเลือกผู้สมัครท่านที่มีประสบการณ์ด้านการตลาด" สิ่งนี้จะทำให้พวกเขามีความคิดในเรื่องที่พวกเขาต้องการทำงานโดยไม่ต้องเข้าร่วมการสนทนาที่ยาวนานเกินไป
4. ใส่ใจในผู้สมัคร (จดจำรายละเอียด)
อย่าบอกแค่เพียงว่า ''เราไม่สนใจคุณ'' แม้กระทั่งการโทรปฏิเสธและการส่งเมล์สรุปบทสทนาทางโทรศัพท์ก็ควรกล่าวถึงชื่อผู้สมัคร ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณจดจำรายละเอียด หรือสิ่งที่คุณพูดถึงในระหว่างการสัมภาษณ์เสมอ ก็จะช่วยให้ผู้สมัครที่ถูกปฏิเสธรู้สึกดีขึ้นมาได้
“จำไว้ว่าหากคุณเป็นคนที่มีความหวังสูง ดังนั้น จงปฏิบัติต่อผู้สมัครที่ถูกปฏิเสธด้วยความเคารพและเอาใจใส่ ปฏิบัติต่อผู้อื่นในแบบที่คุณต้องการได้รับการปฏิบัติ”
5. ซื่อสัตย์
แม้ว่าผู้สมัครที่ถูกปฏิเสธไปในตอนนี้จะพลาดโอกาสได้ร่วมงานกับคุณ แต่หากคุณสนใจที่จะติดต่อกับผู้สมัครอีกครั้งในภายหน้า คุณอาจจะให้โทรศัพท์หรืออีเมลของคุณเพื่อติดต่อกับพวกเขา หากมีตำแหน่งงานอื่นที่พวกเขาสนใจและต้องการโอกาสร่วมงานกับคุณอีกครั้งหนึ่งในอนาคต
6. ขอคำติชม
การจ้างงานเป็นถนนสองทาง การขอคำติชมเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นหาว่าผู้สมัครคิดอย่างไรกับกระบวนการจ้างงานของคุณ ในขณะที่บริษัทส่วนใหญ่ยินดีที่จะตอบกลับข้อเสนอแนะแก่ผู้สมัคร แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถขอได้ในทางกลับกัน นั่นหมายความว่าการสอบถามผู้ที่ได้รับผลตอบรับ แสดงให้เห็นว่า คุณใส่ใจในความคิดเห็นของพวกเขาและเคารพสิ่งที่พวกเขาพูด อย่าเพิ่งถามผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จ คุณควรพยายามสำรวจความสามารถทั้งหมด ใช้ความคิดเห็นนี้ เพื่อจัดโครงสร้างกระบวนการจ้างงานของคุณ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่ามีกระบวนการที่เป็นธรรม
เห็นไหมคะว่า ในคำปฏิเสธนั้น คงไม่มีใครอยากได้ยิน แต่หากเรารู้จักการปฏิเสธที่ดี อาจทำให้คำปฏิเสธที่แสนขมเป็นน้ำผึ้งที่แสนหวานเลยก็ได้