5 วิธีบริหารทีมเวิร์คแบบริชาร์ดแบรนสัน
เมื่อพูดถึง Richard Branson เจ้าพ่อแห่งการก่อตั้ง Virgin Records ผู้ขยายธุรกิจมากมาย ภายใต้เครือ Virgin Group ซึ่งมีบริษัทในเครือกว่า 400 ธุรกิจ และถือเป็นไอดอลที่หลายคนอยากไปถึงจุดเดียวกันกับเขา อะไรกันที่ทำให้คนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ Dyslexia แต่กลับเติบโตและประสบความสำเร็จในธุรกิจ เขามีวิธีบริหารทีมงาน มีแนวคิดอย่างไร มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ
1. อย่าพูดว่า “ฉันเป็นเจ้านาย”
ในหนังสือของแบรนสัน ชื่อ Secrets They Won't Teach You at Business School เขาเคยกล่าวไว้ว่า การ “เจ้ากี้เจ้าการ” มันไม่ใช่ลักษณะผู้นำที่ดี แบรนสันมีความเชื่อว่า ผู้บัญชาการ เพียงแค่เอาแต่สั่ง..และสั่งออกมา นั่นไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง แต่การสร้างแรงบันดาลใจด้วยการกระตุ้นเขาให้เกิดการทำงาน นั้นคือวิธีการที่ดีกว่า จะได้ทั้งใจทีมงานและงานที่มีคุณภาพออกมา
2. อย่าจำกัดเสรีภาพความคิดสร้างสรรค์
แบรนสัน มีจุดเด่นอย่างมาก ในด้านความคิดสร้างสรรค์ เราต้องให้อิสระทีมงานในการคิดสร้างสรรค์ ให้เขาแสดงไอเดียออกมา และเคียงข้างไปกับพวกเขา “ถ้าลูกทีมมาบอกหัวหน้าทีมว่า เขามีไอเดียเจ๋งๆ นะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่สนับสนุน หลายปีที่ผ่านมา ความคิดใหม่ๆ ล้วนเกิดขึ้นจากพนักงานล้วนมีผลต่อการเริ่มธุรกิจใหม่ๆ แบบเวอร์จิ้น” อย่าขังพันธนาการความคิดพวกเขาด้วยกรอบของตัวเองเลย ควรให้อิสระในการนำเสนอ งานจะสำเร็จและทีมแฮปปี้
3. ควรแก้ปัญหาก่อนบานปล่อย
ไม่ปล่อยให้ปัญหาในการทำงานของทีม คาราคาซัง จนเรื้อรังกลายเป็นประเด็นใหญ่ ต้องรีบแก้ปม คลายปัญหา เพื่อดึงทีมให้เป็นศูนย์รวมกัน
4. อย่าทำให้สมาชิกในทีมอึดอัด
แบรนสันมีความเชื่อว่า การสร้างวัฒนธรรมความสนุกสนานจะทำให้ทีมทำงานกันสนุก ไม่อึดอัด โดยสามารถเริ่มจากการใส่ความกระตือรือร้นให้กำลังใจทีมงาน ให้พวกเขามีความสุข สนุกในการทำงาน
5. อย่าเผาสะพานตัวเอง
หาความร่วมมือสมานฉันท์ระหว่างทีมงาน เพราะวันหนึ่งถ้าเขาออกไปเขาอาจเป็นส่วนหนึ่งของโลกธุรกิจ ดังนั้นสิ่งต่างๆ จะต้องจบลงด้วยคำพูดที่ดีต่อกัน เป็นมิตรต่อกันได้ เมื่อเขาออกไปเติบโตขึ้น เราอาจเป็นคอนเนคชั่นที่ดีต่อกันได้ ซึ่งดีกว่าจะกลายเป็นคู่แข่งเพราะความโกรธเคืองต่อกันเป็นไหนๆ
และนี้คือการบริหารคนแบบ ริชาร์ด แบรนสัน ที่สร้างแนวคิด แรงบันดาลใจที่คนเป็นผู้นำต้องอ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กรนะคะ
ที่มาข้อมูล : https://www.entrepreneur.com/article/249616