Company News

โรคคาโรชิ ซินโดรม 8 สัญญาณอันตรายที่คุณควรระวัง


โรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเราทำงานหนักมากและทำงานให้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่มีการพักผ่อนหรือการสลับงานเพียงพอ เราจะรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียอย่างต่อเนื่อง และอาจมีอาการเครียด บางครั้งอาจเกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบการทำงานของร่างกายได้

จากข้อมูลทางสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยทำงานเฉลี่ย 35-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ 6-10 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีจำนวนคนที่ทำงานมากขึ้นถึง 5.6 แสนคน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคคาโรชิ ซินโดรม ที่เกิดจากการทำงานหนักและนานเกินไป

 

อันตรายร้ายแรงสุดของโรคราโรซิ ซินโดรม 

โรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) ส่งผลต่อร่างกายในหลายแง่มุม ได้แก่ การเสียชีวิตอย่างน่าเป็นห่วง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างมาก เช่น ความเครียด ซึมเศร้า และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทางจิตอื่นๆ ได้

ผู้ที่เป็นโรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) มักมีอาการเด่นๆ ที่แสดงถึงการเครียดจากงานที่หนักและนานเกินไป ได้แก่ กังวลเรื่องงานอยู่ทุกขณะจิต ทำงานหนักและหักโหมติดต่อกันเป็นเวลานาน ไปทำงานไวมาก แต่เลิกงานช้ามาก รู้สึกผิดที่จะลา ทำงานภายใต้ภาวะความกดดันสูง คุณภาพการนอนแย่ลงมาก เหนื่อยตลอดเวลา และรู้สึกว่าไม่มีเวลาพอที่จะทำอะไรที่ใจอยากทำ

 

สัญญาณอันตรายที่คุณควรระวัง


1. กังวลเรื่องงานอยู่ทุกขณะจิต

หากคุณคิดเรื่องงานในทุกๆ ช่วงเวลา แม้แต่ตอนนอนยังฝันถึงงาน หรือคิดว่าจะจัดการกับงานอย่างไร และความคิดเรื่องงานนั้นอาจแย่งพื้นที่สมองในการคิดถึงเรื่องอื่นๆ ไปเสียหมด หากคุณมีอาการเช่นนี้ อาจเป็นสัญญาณของโรคคาโรชิ ซินโดรม

 

2. ทำงานหนักและหักโหมติดต่อกันเป็นเวลานาน

หากคุณทำงานหนักมากเกินไปและยาวนานจนไม่มีเวลาพักผ่อนเลย ทำงานโต้รุ่ง ข้ามวันข้ามคืนอยู่บ่อยๆ หากเป็นเช่นนี้ไม่ดีแน่นอน อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคคาโรชิ ซินโดรม และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจได้ ดังนั้น ควรแบ่งเวลาชีวิตให้ดี มีเวลาพักผ่อน เวลาทำงาน เวลาออกกำลังกาย สร้างสมดุลให้กับชีวิตบ้าง

 

3. ไปทำงานไวมาก แต่เลิกงานช้ามาก

หากคุณเป็นคนที่ไปทำงานไวแต่เลิกงานช้ามาก ทำงานลากยาวจนมืดค่ำ และรู้สึกว่าที่ทำงานไม่มีความสุขเลย ต้องบังคับให้ตนเองไปทำงานทุกวัน เพราะงานที่ทำอยู่มันไม่จบ ไม่เบาลงเสียที อาจเป็นสัญญาณของโรคคาโรชิ ซินโดรมนะคะ

 

4. รู้สึกผิดที่จะลา ตามกฎหมายแรงงาน

หากคุณรู้สึกไม่สบายใจที่จะลาพักร้อน หรือลากิจ โดยมีเหตุผลที่ชัดเจนตามกฎหมายแรงงาน แต่ไม่กล้าลา เพราะเป็นห่วงงานหนักมาก กลัวงานไม่เสร็จ กลัวงานไม่ได้อย่างที่วางไว้ กลัวโดนดุ โดนหักเงินเดือน จนแม้ตัวเองจะป่วยก็ไม่ยอมลา ถ้ายังแบกร่างพังๆ ไปทำงานได้ก็พร้อมจะพาไปเสมอ นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคคาโรชิ ซินโดรมได้

 

5. คุณภาพการนอนแย่ลงมาก

ประสาทตึงเครียดตลอดเวลา เมื่อถึงเวลานอนก็หลับไม่สนิท ฝันร้าย ตื่นมารู้สึกปวดหัว นอนไม่เพียงพอ รู้สึกไม่สดชื่น พอถึงเวลานอนก็วนลูปใหม่เป็นแบบนี้ประจำ คุณภาพการนอนที่แย่อาจเป็นสัญญาณของโรคคาโรชิ ซินโดรมและอาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจได้

 

6. เหนื่อยตลอดเวลา

หากคุณรู้สึกเหนื่อยและอ่อนล้าตลอดเวลา แม้ในวันหยุดพักผ่อน อาจเป็นสัญญาณของโรคคาโรชิ ซินโดรมและอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ

 

7. รู้สึกว่าไม่มีเวลาพอที่จะทำอะไรที่ใจอยากทำ

ใช้เวลาหมกหมุ่น ทุ่มเทกับงาน จนลืมไปว่าความฝันในชีวิต หรือเป้าหมายคืออะไร ใช้ชีวิตวนลูปเหมือนหุ่นยนต์ไปทุกวันใช้ชีวิตอย่างไม่มีความหมาย เพราะที่ผ่านมา “ไม่เคยให้ความหมายกับชีวิต” สุดท้ายคุณจะมีหัวใจที่ไร้ความรู้สึก ไม่ได้ใช้ชีวิตตามที่อยากเป็น

การรับมือกับโรคคาโรชิ ซินโดรมอาจเริ่มต้นด้วยการจัดการเวลาและการทำงานให้เหมาะสม ควรให้ความสำคัญกับการพักผ่อนและการสลับงานที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายและจิตใจของเราได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเพื่อให้คำปรึกษาและการสนับสนุนที่เหมาะสมในการจัดการกับความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานหนัก อย่าลืมว่าสุขภาพจิตและความสมดุลในชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพื่อป้องกันการเป็นโรคคาโรชิ ซินโดรมและรักษาสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนนะคะ

หากคุณรู้สึกว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณของโรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) และควรพบผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเพื่อปรึกษาและรับการช่วยเหลือในการจัดการกับความเครียดจากงาน รวมถึงคำแนะนำในการสร้างความสมดุลในชีวิต (Work-Life Balance) เพื่อให้สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของคุณดีขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง 

1. เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2566, 30 เมษายน). สายด่วนสุขภาพจิตเผย ม.ค.66 วัยแรงงานเครียดจัด ทำงานไร้ความสุขสูงอันดับ 1. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.hfocus.org/content/2023/04/27584

2. โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา. (2566, 16 กุมภาพันธ์). สัญญาณเตือนภัย ทำงานหนักเกินไป…ระวังภาวะคาโรชิ !!!. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.synphaet.co.th/karoshi-syndrome/

3. pptvhd36. (2566, 1 สิงหาคม). คนทำงาน 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นเกือบ 4 แสนคน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/202321

4. The Coverage. (2566, 8 กุมภาพันธ์). ‘กระทรวงแรงงาน’ เคลียร์ชัด ‘โรคที่เกิดจากการทำงาน’ มีอะไรบ้าง ? อ่านที่นี่! ประกาศฉบับอัพเดทล่าสุด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thecoverage.info/news/content/4532