ถอดรหัสแนวคิดบริหารทีมงานให้สำเร็จ อย่างแจ็คหม่า
แจ็คหม่า หรือหม่าหยุน ผู้ก่อตั้ง Alibaba จนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ด้วยเงินเริ่มต้นธุรกิจเพียง $20,000 เท่านั้น เขากลายเป็นมหาเศรษฐีแนวหน้าที่ร่ำรวยที่สุดของจีน ความคิดพฤติกรรมของแจ็คหม่านั้น แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ที่เขามักทำกัน โดยเฉพาะการบริหารทีมงานจะเป็นอย่างไรนั้นมาติดตามกันเลยค่ะ
1. ไม่จ้าง The Best
แน่นอน!! ทุกองค์กรต้องการคนเก่ง-คนฉลาดมาร่วมทีม แต่นั้นไม่ใช่แจ็คหม่า เพราะเขามองว่า การจ้างคนเก่งไม่ใด้ช่วยให้บริษัทเก่งขึ้นในระยะยาว เพราะเหล่าบรรดาคนเก่ง หัวกระทิผลการเรียนเป็นเลิศมักไม่เคยผิดหวัง เมื่อเจอสถานการณ์โหดร้ายในโลกแห่งความเป็นจริงจะรับมือกับสิ่งนี้ไม่ได้ แน่นอนธุรกิจมันมีขึ้นมีลงไหวพริบเท่านั้นที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ สิ่งที่ต้องทำ คือ “สอนให้ทีมของคุณทำงานร่วมกับทีมของคุณ แล้วทีมของคุณจะสอนคุณเองในท้ายที่สุด” สิ่งที่เขาต้องการ คือ ปัญญา ซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ไหวพริบปฎิภาณ รวมถึงการตัดสินใจได้ในแต่ละสถานการณ์
2. ให้สิทธิถือหุ้นของบริษัท
ซึ่งถือว่าหายากในประเทศจีน ที่มีการบริหารแบบดั่งเดิม ที่ถูกจ้างให้หัวหน้าเสมือนจักรพรรดิมองพนักงานแบบใช้แล้วทิ้งและจ่ายค่าจ้างตามที่เห็นสมควร แต่นั้นไม่ใช่แจ็คหม่า ที่เป็นเล่นนี้เพราะเขาเคยมีประสบการณ์ คือ เวลาเจอวิกฤตนักลงทุนกลับหนีคนแรก ในขณะที่ลูกค้าและพนักงานของเขายังอยู่กับเขาต่อ
3. โฟกัสที่วัฒนธรรมองค์กร
คนในองค์กรต้องมีวัฒนธรรมเดียวกัน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เพราะเป้าหมายของ Alibaba ไม่ใช่แค่ทำกำไรเยอะ แต่ยังปลูกฝังให้องค์กรทำงานเป็นทีม และสอนให้มองหาโอกาสที่ซ่อนอยู่จากคำบ่น หรือความผิดพลาดจากงาน ว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะโอกาสมีอยู่เสมอ และแน่นอนว่า เขาเชื่อว่า แม้ไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความคิดคล้ายกันได้ แต่สามารถทำให้ทุกคนไปในทางเดียวกันได้ด้วย “เป้าหมาย”เดียวกัน
4. ให้ความสำคัญกับทัศนคติ
สิ่งที่เขาเคยทำผิดพลาดที่สุดตอนเมื่อก่อตั้ง Alibaba และบอกพนักงานไปว่า ตำแหน่งสูงสุดที่พนักงานจะได้ไต่ขึ้นมา คือ ผู้จัดการเท่านั้น ขนาดที่ผู้บริหารจะจ้างคนข้างนอกเข้ามาดูแล นั้นเป็นจุดที่เขารู้สึกว่า ทำผิดพลาดมหันต์ และหันมาปรับทัศนคติ ใฝ่รู้ทักษะทฤษฎีต่างๆ เพราะเชื่อว่าผู้นำที่ดีต้องมีสายตากว้างไกล มองไปข้างหน้า เพื่อนำคู่แข่งนั้นเอง
5. โอกาสที่ทุกคนไม่เห็นนั้น คือ โอกาสอย่างแท้จริง
เขาเชื่อว่าโอกาสที่ยิ่งใหญ่นั้นมักอธิบายชัดเจนไม่ได้ ส่วนที่อธิบายชัดเจนได้มักไม่ใช่โอกาสที่ดีที่สุด ควรมองหาคนที่มาทำให้บริษัทสมบูรณ์ขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องหาคนประสบความสำเร็จ คนที่ใช่! ไม่ใช่คนที่ดีที่สุด "ถ้าหากมีข้อเสนอนึงมาแล้วคนส่วนใหญ่ตอบว่า “ใช่” เกินกว่า 90%, ผมก็จะทิ้งข้อเสนอนั้นลงถังขยะทันที เหตุผลง่ายนิดเดียว: ถ้าหากมีคนเยอะขนาดนี้คิดว่าข้อเสนอนี้ดี แสดงว่า มีคนอีกเยอะที่กำลังทำงานนี้อยู่ และโอกาสนั้นมันก็ไม่ได้เป็นของเราแล้ว"
และนี่คือแนวคิดคร่าวๆ ของอภิมหาเศรษฐี “แจ็คหม่า” ผู้พา Alibaba ไปไกลทั่วโลก ด้วยหลักแนวคิดความสำเร็จที่เริ่มต้นก่อน แล้วผลลัพธ์จะตามมา เพราะถ้าไม่เรียนรู้ก่อนจะส่งต่องานให้คนอื่นได้อย่างไร นอกจากนี้เขายังมุ่งมั่นทำงานเพื่อธุรกิจ “ของเรา” เพื่อพนักงาน “ของเรา” ทำให้ครอบครัว พนักงานได้รับประโยชน์ที่ดีที่สุด จะทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้สวย และนี่คือความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจของ Alibaba